หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารสำหรับสังคมคนทำงานที่ดีที่สุด
สนใจติตต่อลงโฆษณา โทร. 094-554-6226
อีเมลล์ : workingsociety@hotmail.com

Main Menu


 

สถิติเว็บไซต์

 สถิติวันนี้ 49 คน
 สถิติเมื่อวาน 39 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
451 คน
9728 คน
246398 คน
เริ่มเมื่อ 2010-06-28

 ทำไมศาลาต้นจันทน์ถึงหายไป ? 

วันนี้น้องถ้วยฟูจะพาไปดูศาลาต้นจันทน์นะคะ เขาเรียกมาแต่ดั้งเดิมว่าศาลาต้นจันทน์ ที่ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงศิริราช  เขตบางกอกน้อยค่ะ  ถ้าใครเคยผ่านไปไหว้พระวัดระฆังก็คงผ่านตาบ้างหรือใครไปแถวๆ ศิริราช ก็คงเคยได้ยินชื่อศาลาต้นจันทน์ ในปัจจุบันเป็นศาลาขนาดเล็ก หลายท่านคงคิดว่ามีขนาดเท่านี้ตั้งแต่แรก หรือหลายท่านอาจไม่ได้ใส่ใจมองผ่านตาไปใครจะรู้ว่าศาลาต้นจันทน์นี้มีความสำคัญมากกับชาวบ้านละแวกนี้


เพราะเหตุไรศาลาต้นจันทน์จึงเหลือขนาดเท่านี้ มาติดตามไปพร้อมๆ กันกับถ้วยฟูนะคะ คุณแม่พาถ้วยฟูเดินไปไหว้พระที่วัดระฆัง ชี้ให้ถ้วยฟูดูศาลา มองเห็นพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 องค์ยืน เห็นศาลาทรงไทยสวยงามสีน้ำตาลเข้ม แม่บอกว่าแต่โบราณศาลาหลังนี้ใหญ่เป็นที่รวมของชาวบ้านมาทำกิจกรรมทั้งกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมอื่นๆ

ศาลาต้นจันทน์หลังเดิมเป็นอาคารไม้สักชั้นเดียวใต้ถุนสูงประมาณหนึ่งเมตรเศษ กว้างยาวประมาณ 8 × 12 เมตร มีบันไดโบกปูนขึ้นลง 3 บันได คือ ด้านหน้า 2 บันได ด้านทิศใต้ 1 บันได หลังคามุงกระเบื้อง หน้าต่างมีลูกกรง หน้าศาลาทางทิศเหนือ มีต้นจันทน์ปลูกอยู่ 2 ต้น และมีเจดีย์องค์เล็กอยูทางทิศเหนือและทิศใต้ข้างละองค์ ศาลานี้มีอายุ100ปีกว่า  แต่ไม่ระบุว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่เล่าสืบมาว่าศาลานี้ใช้ประโยชน์มากมาย เรียกว่าเป็นศาลาอเนกประสงค์ก็ว่าได้ ใช้ประกอบงานต่างๆ ทำบุญประจำปี บุญสงกรานต์ ขวัญนาค สวดศพ นิมนต์พระมาเทศน์ และยังเป็นโรงทาน มีผู้ใจบุญนำน้ำร้อน น้ำชา กาแฟ มาตั้งไว้เลี้ยงผู้คนที่ไปนมัสการปิดทองพระพุทธบาทจำลองที่วัดอัมรินทราราม ทุกปี และยังเป็นที่นั่งคุยกันในหมู่ผู้ใหญ่ โขกหมากรุกกันบ้าง ยังใช้เป็นโรงเรียนประชาบาลเพื่อให้เด็กยากจนได้เรียนหนังสือและจัดเป็นห้องสมุดประชาชน

ตอนนี้ถ้วยฟูจะบอกค่ะ ว่าทำไมศาลาต้นจันทน์หายไปไหน ตามมาค่ะ เพราะทางการต้องการถนนจึงขยายถนนอรุณอัมรินทร์ให้กว้างขึ้น ต้องเวรคืนที่ดิน ทำให้ศาลาต้นจันทน์หายไปครึ่งหลัง จึงจำเป็นต้องรื้อออก ตัวศาลาเจ้าของเมืองโบราณซื้อไป ไปปลูกไว้ที่เมืองโบราณ ห้องสมุดย้ายหนังสือที่คนบริจาคไปไว้ที่วัดวิเศษ (หมื่นรักษ์)

ชาวบ้านแถวนั้นจึงมีความผูกพันกับศาลาต้นจันทน์เป็นอย่างมาก เห็นมีที่เหลืออยู่ เป็นส่วนหย่อมของเทศบาลเพียงเล็กน้อย ก็เลยรวมทุนบริจาคร่วมกันสร้างศาลาต้นจันทน์ย่อส่วนในอัตราส่วนจริงเป็น หลังเล็กเหมือนหลังเดิมทุกอย่าง เพื่อเอาไว้เป็นที่เคารพสักการะและระลึกถึงหลังเดิม


แม้นกาลเวลาจะผ่านไปเแสนนานแต่ตำนานศาลาต้นจันทน์ยังมีไวัให้คนรุ่นหลังได้ชม.....

 


 

Copyright (c) 2006 by workingsociety.com